วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

คำศัพท์หุ้น ภาษาอังกฤษ Stock

 



คำศัพท์หุ้น ภาษาอังกฤษ Stock


คำศัพท์หุ้น ภาษาอังกฤษ Stock


อยากให้จบ ใน 100ศัพท์ เลยเลือกคำศัพท์ที่อาจได้ยินบ่อยหรือต้องพบเจอบ่อยซะมากกว่านะ ลองๆดู

เราเอาเฉพาะที่เป็นคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ก่อนนะที่เขาพูดบ่อยๆ ไรงี้ ส่วน พวก คำ แบบ ขายหมู

เด้งใส่หน้า ตกรถ กองลาก กองทุบ รอช้อน อะไรพวกนี้ เขาใช้ภาษาไทยกัน เลยไม่ได้ใส่ไปด้วย

คำศัพท์หุ้น ภาษาอังกฤษ Stock


1. Stock : หุ้น


2. Common Stock : ห้นสามัญ


3. Preferred Stock : หุ้นบุริมสิทธิ์


4. IPO / Initial Public Offering : การเสนอขายหุ้นครั้งแรกของบริษัทให้กับสาธารณะชน ประชาชนทั่วไป


5. Dividend : เงินปันผล


6. Dividend Yield : อัตราเงินปันผลตอบแทน


7. Capital Gain : ผลกำไรจากส่วนต่างของหุ้น


8. Business Risk : ความเสี่ยงทางธุรกิจ


9. Financial Risk : ความเสี่ยงด้านการเงิน


10. Liquidity Risk : ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ( การเปลี่ยนสินทรัพย์หุ้น เป็นงินสดได้ยาก )


11. Interest Rates Risk : ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย


12. Inflation Risk : ความเสี่ยงด้านอัตราเงินเฟ้อ


13. Joint Venture / JV : กิจการร่วมค้า การดำเนินการร่วมกันของธุรกิจ


14. ETF (Exchange Traded Fund) : กองทุนรวม


15. Portfolio : สั้นๆว่า พอร์ต คือ หุ้นหรือกลุ่มหลักทรัพย์ลงทุนในความครอบครอง


16. ATO / AT THE OPEN : คำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ ณ ราคาเปิดตลาด


17. ATC / AT THE CLOSE : คำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ ณ ราคาปิดตลาด


18. BEAR MARKET : ตลาดหมี เป็นภาวะที่ตลาดนั้นมีหุ้นตกอย่างต่อเนื่อง และมีแรงซื้อขายน้อย

 เป็นไปอย่างช้าๆ


19. Bond Yield : อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล ( มันส่งผลต่อหุ้นด้วยนะ ถ้าเป็น Bond Yield 

ของอเมริกานี่ ส่งผลทั่วโลก )


20. BID : ราคาเสนอซื้อหุ้น เสนอราคาเข้าซื้อนั่นแหละ


21. BIG - LOT BOARD : กระดานซื้อขายรายใหญ่


22. BIG LOT : การซื้อขายรายใหญ่ จำนวน 1 ล้านหุ้น หรือ 3 ล้านบาทขึ้นไป


23. BLUE CHIP STOCK : หุ้นบริษัทชั้นดี


24. BOARD LOT : หน่วยการซื้อขายบนกระดานหลัก ซื้อกันขั้นต่ำ 100 หุ้น ไม่มีเศษ 50 กะไม่ได้ 

ต้อง 100 200 1000 อะไรทำนองนี้


25. ODD LOT : หน่วยย่อย กระดานเล็ก ซึ่งราคาอาจจะไม่ตรงกับกระดานหลักเท่าไหร่บางตัว 

ซื้อขายกันได้ตั้งแต่ 1 หุ้นถึง 99 หุ้น ไว้ซื้อเศษหุ้นสะสม ในกรณีที่ไม่ต้องการหุ่นมากมาย


26. BOND : พันธบัตรหรือหุ้นกู้


27. BOOK VALUE : มูลค่าตามบัญชี


28. BROKER : นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ สำคัญนะ เราต้องผูกบัญชีกับโบรกเพื่อเปิดพอร์ตหุ้นจะดุ่ยๆ

ไปซื้อไม่ได้


29. BULL MARKET : ตลาดกระทิง เป็นช่วงที่มีตลาดขาขึ้นอย่างน้อย 2-3 เดือนขึ้นไป มีการซื้อขาย

ในระดับสูงและมีสภาพคล่องสูงมาก ตลาดคึกคักนั่นเอง


30. BUY-IN : รายการซื้อเพื่อส่งมอบหลักทรัพย์ที่ผิดนัด


31. CAPITAL MARKET : ตลาดทุน


32. CASH ACCOUNT : บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยเงินสด ไว้ใช้ฝากเงินเข้าไปซื้อหุ้นนั่นเอง


33. CEILING & FLOOR : ราคาเสนอซื้อ / เสนอขายสูงสุดและต่ำสุดของหลักทรัพย์ นักลงทุน

จะชอบเรียก ลิ่งๆ นั่นแหละ


34. CIRCUIT BREAKER : เซอร์กิตเบรกเกอร์ เป็นมาตราการที่ใช้ หยุดการซื้อขายชั่วคราวเวลาหุ้น

ในตลาดลงอย่างหนัก ครั้งที่ 1 เมื่อลงไป 10เปอ ครั้งที่ 2ลงไป20เปอร์ อันนี้คือ Set Index ของไทยนะ


35. CLOSED-END FUND : กองทุนปิด


36. CLOSING PRICE : ราคาปิด


37. COMMISSION : ค่านายหน้า ค่าธรรมเนียมของโบรก ด้านบนนั่นแหละ


38. CREDIT BALANCE : เป็นระบบบัญชีสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อหุ้น หรือ

เรียกอีกอย่างว่า บัญชีมาร์จิ้น (Margin Account) 


39. CRA: CREDIT RATING AGENCY : หน่วยงานจัดอันดับความน่าเชื่อถือ


40. DEBENTURE : หุ้นกู้


41. DELISTING : การเพิกถอนหลักทรัพย์จดทะเบียน


42. DW : DERIVATIVE WARRANT : ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ มันเล่นได้ด้วยนะ แต่ผมไม่ถนัดอะ

อธิบายยากลองศึกษาเพิ่มเติมดู พวก วอรแรนท์


43. EBITDA : ยอดขาย - ต้นทุนขาย - ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร + ค่าเสื่อมราคาและจัดจำหน่าย

 ง่ายๆคือกำไรจริงๆจากการดำเนินงานทั้งหมด


44. EPS : EARNING PER SHARE : กำไรสุทธิต่อหุ้น


45. EQUITY FUND : กองทุนตราสารทุน


46. FORCED SELL : การบังคับขาย


47. FREE FLOAT : ระดับการกระจายของผู้ถือหุ้นรายย่อย ส่วนใหญ่จะโชว์ออกมาในรูปแบบ เปอร์เซ็น


48. LISTED COMPANIES : บริษัทจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์


49. SET : Stock Exchange of Thailand = ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย Bangkok Stock Exchange

 ชื่อเก่าคือ ตลาดหลักทรัพย์กรุงเทพ 


50. mai : MARKET FOR ALTERNATIVE INVESTMENT : ตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ อันนี้ของ

ไทยล้วนๆนะ เป็นตลาดรอง เป็นแหล่งระดมทุนของธุรกิจที่มีศักยภาพขนาดกลางและเล็ก 20 ล้านขึ้นไป


51. sSET : เป็นกลุ่มหุ้นเล็กที่มีสภาพคล่องสูง ในตลาดเป็นบริษัทที่ไม่อยู่ในดัชนี SET100 


52. MAIN BOARD : กระดานหลัก


53. MANIPULATION : การปั่นหุ้น


54. Market Cap : ชื่อเต็มๆ คือ MARKET CAPITALIZATION มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด 


55. MARKET PRICE : ราคาตลาด


56. NAV : NET ASSET VALUE หมายถึง มูลค่าสินทรัพย์สุทธิ ซึ่งเป็นผลต่างระหว่างสินทรัพย์ทั้งหมด

ของธุรกิจและหนี้สินทั้งหมด รวมถึงหุ้นกู้และหุ้นบุริมสิทธิ


57. NC : NON-COMPLIANCE หลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนที่เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน


58. NET SETTLEMENT : การชำระค่าซื้อขายแบบยอดสุทธิ


59. NP : NOTICE PENDING บริษัทจดทะเบียนต้องรายงาน และตลาดหลักทรัพย์ฯ อยู่ระหว่างรอ

ข้อมูลจากบริษัท


60. NVDR : Non-Voting Depository Receipt ใบแสดสงสิทธิ ข้อมูลการซื้อขายหลักทรัพย์(หุ้น)

ของนักลงทุนต่างชาติ ที่มาซื้อหุ่้นในไทยนั่นเอง


61. OFFER : ราคาเสนอขาย ตรงข้าวกับ Bid ด้านบน เวลาในกระดานจะมีคนละฝั่งที่ เป็น การเสนอ

ซื้อ และเสนอขาย ถ้าราคาตรงกันมันก็จะ แมช เข้ามาอีกฝั่งขายได้อีกฝั่งก็ได้หุ้นเข้ามาในพอร์ต


62. Match : จับคู่หถ้นทั้ง 2 ฝั่ง bid และ offer สำเร็จ ก็จะ แมชท์กันเรียบร้อยได้หุ้นสำหรับคนซื้อ 

คนขายก็ขายหุ้นออกไปได้


63. OPEN-END FUND : กองทุนเปิด


64. OPENING PRICE : ราคาเปิด เป็นราคาเปิดการซื้อขายหุ้นของแต่ละวันนั่นเอง ที่เขาบอกวันนี้

หุ้นตัวนี้เปิดโดด อะไรทำนองนี้


65. P/BV RATIO : Price to Book Value อัตราส่วนทางการเงินที่เปรียบเทียบระหว่าง “ราคาหุ้นต่อหุ้น

 (Price)” เทียบกับ “มูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น (Book Value per Share)”


66. P/E RATIO : Price to Earnings Ratio อัตราส่วนเทียบระหว่าง าคา หารด้วย กำไรสุทธิต่อหุ้น 

ประมาณว่า กี่เท่า เราจะได้ทุนคืนจากการลงทุนนี้กี่ปี ทำนองนี้


67. PROSPECTUS : หนังสือชี้ชวน 


68. Q / Quarter : ไตรมาส เป็นการแบ่ง โดย 1ปี จะแบ่งเป็น 4 Quarter ละ  3เดือน เป็นการใช้เรียกเวลา

จะประกาศผลประกอบการ หรือลงทุนทำอะไรในบริษัทต่างๆ ในตลาดหุ้น หรือทั่วไป


69. QoQ ย่อมาจาก Quarter on Quarter  : หรือเรียกว่า คิวออนคิว เต็มๆก็ ควอเตอร์ออนควอเตอร์ 

เป็นการเปรียบเทียบผลการดำเนินงาน กำไร ขาดทุน ของ ไตรมาสนี้ กับ ไตรมาสก่อนหน้า


70. YoY ย่อมาจาก Year on Year : เยียร์ออนเยียร์ เป็นการเปรียบเทียบผลการดำเนินงาน กำไร 

ขาดทุน ของ ไตรมาสนี้ สมมติ ไตรมาส3 ละกัน นั่นก็คือ เปรียบเทียบไตรมาส 3 ของ ปีนี้ กับปีที่แล้วนั่นเอง


71. SET INDEX : ดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย


72. SHORT SELL : คือการทำกำไรในช่วงที่เราคิดว่า หุ้นตัวนั้นจะปรับตัวลง โดยการยืมหุ้นนั้นมาจาก

บริษัทหลักทรัพย์หรือสถาบันที่ให้บริการยืมหุ้น โดยการวางเงินประกันไว้ และยืมไปขายนั่นแหละ 

เพื่อทำกำไรตอนีท่หุ่นตัวนั้น ราคาตกจากตอนที่ขายไปแล้วค่อยไปซื้อคืนกับมา คืนผู้ที่ให้ยืม 

กินส่วนต่างของที่เรายืมไปขาย + ซื้อคืนกลับมาถูกกว่าเดิม สมมติเราคิดว่าหุ้นตัวนี้ต้องตก หรือมีเหตุให้

ตกอาจจะปล่อยข่าวร้ายของพวกเราเองหรือ กำลังจะถูก disrupt อะไรก็แล้วแต่ที่ส่งผลให้หุ้นตัวนี้

ต้องตกแน่ๆ เราเลยไปยืมหุ้น ... มาขายได้ราคา 120 บาท ขายไปได้แล้ว พอผ่านไปซักระยะเวลานึง 

( และต้องไม่หมดเวลาคืนหุ้นด้วยนะ ) หุ้นตัวนี้ตกลงมาเหลือ 80 บาท เราก็เข้าไปซื้อคืนกลับมาคืน

ให้แก่ผู้ที่ให้เรายืมหุ้นนั้นมา ส่วนต่าง 40 บาทจากการที่เราขายไป 120 และซื้อคืนกลับมา 80 หักลบ

ค่านั่นนี่ ที่เหลือก็จะเป็นของเราเท่าไหร่ว่าไป


73. Disrupt : ดิสรัปต์ ตรงตัวคือ การหยุดชะงัก, การแตกกระเจิง,  ในทางธุรกิจ หรือ ตัวบ. จดทะเบียน

คงจะประมาณได้ว่า กำลังจะถูกอะไรซักอย่างมาทำให้ การดำเนินกิจการแย่ลง เสียหาย พังไป

อย่างเช่น ยกตัวอย่าง ธุรกิจ ขนมเบเกอรี่ มันมีคู่แข่งเยอะ หุ้นตัวนี้อาจจะถูก ดิสรัปต์ จากคู่แข่ง ในเรื่อง

ต้นทุน และค่าใช้จ่ายหน้าร้าน เพราะอาจมีรายย่อยที่ขายแบบออนไลน์มากขึ้น หรือ 

ธุรกิจน้ำมัน กำลังจะถูก ดิสรัปต์ โดยเทรนด์การใช้พลังงานทั่วโลก อย่างรถไฟฟ้า บ.น้ำมัน

ในตลาดเลยทำการ ดิสรัปต์ตัวเอง(เปลี่ยนแปลตัวเองในเหตุผลนึง ) เป็น บ. โฮลดิ้งคอมพานี 

ถือหุ้นในหลายๆกิจการ รวมถึงหุ้นใน ธุรกิจเกี่ยวกับ แบตเตอรี่ รถไฟฟ้าด้วย อะไรทำนองนี้


74. Holding Company : โฮลดิ้งคอมพานี ริษัทที่มีการประกอบธุรกิจโดยมีรายได้จากการถือหุ้น

ในบริษัทอื่นเป็นหลัก ง่ายๆคือถือสินทรัพท์ของ บ. อื่นๆรับเงินปันผล หรือกำไรอะไรก็แล้วแต่อีกที


75. TAKEOVER : เทคโอเวอร์ เข้าครองครองหรือเป็นเจ้าของกิจการ ของผู้อื่น ซื้อกิจการอะไรก็แล้วแต่


76. Fundamental : นักลงทุนแนวปัจจัยพื้นฐาน ออกแนวว่า ดูที่ตัวธุรกิจเป็นหลักมากกว่า ซื้อหุ้น

เปรียบเหมือนการไปเข้าร่วมเป้นเจ้าของกิจการนั้นๆด้วย พวกนี้เน้นถือยาว


77. MI / Momentum Investor : ลงทุนตามเทรนด์ขาขึ้นของตลาด ลงทุนตามกระแสเงินเข้าหรือ

ทิศทางตลาดหรือกลุ่มหุ้นนั้นๆ


78. Technical : นักลงทุนแนวเทคนิค แนวดูกราฟ ดูหุ้น กลุ่ม ฐานแนวรับ แนวต้าน ของหุ้นแต่ละตัว 

มีลากเส้น อะไรด้วยอาศัยข้อมูลราคาหุ้นในอดีต ปริมาณการซื้อขาย พร้อมทั้งใช้เครื่องมือวิเคราะห์

ทาง เทคนิค


79. Hybrid : นักลงทุนแบบผสมพื้นฐานและเทคนิค


80. VI / Value Investor : สายพื้นฐานเน้นคุณค่า พวกเดียวกับ Fundamental นั่นแหละ 


81. Fund Flow : เงินลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในหุ้นไทย


82. Cut Loss : การตัดขาดทุนหุ้นเมื่อผิดทาง เหมือนเราซื้อหุ้นในราคา 100 บาท แต่หุ้นราคาตกมาที่ 

90 บาท แทนที่เราจะปล่อยให้มันลงไปอีกยิ่งขาดทุน เราเลยต้อง คัทลอส เพื่อให้ขาดทุนแค่พอที่เรา

จะรับไหว


83. Let Profit Run : การปล่อยให้กำไรเติบโตแบบทบต้นไปเรื่อยๆ ทำให้เราได้กำไรผลตอบแทน

มากขึ้นไปอีก


84. VALUE STOCK : หุ้นคุณค่าหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี น่าลงทุน และยังราคาไม่แพงเมื่อเทียบกับ

ราคาเหมาะสมที่มันควรอยู่ คือของดีที่ราคาถูกนั่นเอง


85. VOLUME : ปริมาณการซื้อขาย


86. WARRANT : ใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหลักทรัพย์


87. Day Trade : ซื้อขายหุ้นเป็นรายวัน ปกติจะซื้อหุ้นกัน เทรดหวังผลกันราย เดือน ปี แต่สมัยนี้ 

เทรดรายชั่วโมง รายวันก็ได้รับความสนใจไม่น้อย


88. Indicator : เครื่องบอก, ตัวบ่งชี้ สภาพของหุ้นนั้นๆ


89. Coupon Rate : อัตราดอกเบี้ย


90 .Underperform : หุ้นตัวนั้นผลงานไม่ดี หรือพื้นฐานราคา หรือช่วงนั้นยังไม่ดี มักจะเอาไปเทียบกับ

ส่วนรวมอย่างกลุ่มประเภทหุ้นในกลุ่มเดียวกัน หรือตลาดโดยรวม ที่บางทีขึ้นมาแล้ว 10 เปอร์เซ็น 

แต่หุ้นตัวนี้ยังลงอยู่ สายเทคนิค กับโมเมนตั้ม ค่อนข้างจะ ซีเรียสบ้างเรื่องนี้ แต่สายพื้นฐานนั้น 

จะดูภาพรวมและความแข็งแกร่งอื่นประกอบเป็นหลักเพราะถือยาว ถือที่พื้นฐาน + ราคาหุ้นดี เป็น

หุ้นคุณค่า ไม่ใช้สาย เทคนิคที่ใช้ปัจจัยอื่นๆมารวม ซึ่งคนละแบบกัน ถ้าโดยรวมตัว กิจการยังดี

ก็สามารถเข้าได้ แต่นักเทรดเดอร์ รายวัน หรือระยะสั้นจะไม่ค่อยสนใจ หรือเลี่ยงจะเข้าหุ้นที่ 

Underperform อยู่ เพราะมีหุ้นอีกมากมายให้เล่น ทำไมต้องมาเสียเวลากับตัวที่ยังไม่อยู่ในช่วงขาขึ้น


91.  : 


92.  : 


93.  : 


94.  : 


95.  : 


96.  : 


97.  : 


98.  : 


99.  : 


100.  : 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น