รุ่นพิกัดน้ำหนัก นักมวย ภาษาอังกฤษ Weight
มวยเป็นศิลปะการต่อสู้ ชนิดนึงที่เมื่อเวลาเอามาใช้เป็นกีฬาแล้วนั้นจะต้องมี พิกัดน้ำหนัก ไม่ว่าจะแข่ง
แบบอาชีพ หรือ สมัครเล่นในโอลิมปิก กีฬามวยนั้นจำเป็นจะต้องต่อยในพิกัดน้ำหนักที่ใกล้เคียงกัน
ไม่ให้ได้เปรียบเสียเปรียบ แต่บางครั้งก็มีการข้ามรุ่นหรือบางทีที่เห็นบ่อยในมวยไทยคือ ต่อน้ำหนัก
และบางครั้ง ถ้านักมวยไทยไปต่อยต้องตอ่ยกับต่างชาติอาจจะต้องจำเป็นที่ต้องชกข้ามรุ่น เพราะไทย
เราอาจจะมีมวยรุ่นใหญ่น้อย หรือ บางทีก็เป็นรายการโอเพ่น ไม่จำกัดน้ำหนัก
เราเลยจะพามาดูกันว่าใน กีฬาต่างๆ บางทีที่เป็นกีฬาการต่อสู้ จะมีพิกัดน้ำหนักอะไรบ้าง
เป็นภาษาอังกฤษ เผื่อเวลาไปดูถ่ายทอดสดเวลาเขาเรียกชื่อน้ำหนักเรียกชื่อรุ่น
จะได้พอเข้าใจไม่งง หรือทำให้การดูมีข้อมูลมากขึ้น ซึ่งบางสถาบันมวยอาจจะเรียกไม่เหมือนกัน
แต่น้ำหนักเท่ากันเราเลยจะลงไว้ใหเหมด ลองดูและจำเผื่อได้ใช้เวลาดูมวย
1. ไม่เกิน 90 ปอนด์ (40.9 กิโลกรัม)
- เปเปอร์เวท : Paperweight
2. ไม่เกิน 101 ปอนด์ (45.9 กิโลกรัม)
- พินเวท : Pin Weight
3. ไม่เกิน 105 ปอนด์ (47.6 กิโลกรัม)
- Mini flyweight : มินิฟลายเวท
- Strawweight : สตรอว์เวท
- Minimumweight : มินิมัมเวท
- Atomweight : อะตอมเวท
4. มากกว่า 105 ปอนด์ (47.6 กิโลกรัม) ไม่เกิน 108 ปอนด์ (49.0 กิโลกรัม)
- Light flyweight : ไลท์ฟลายเวท
- Junior flyweight : จูเนียร์ฟลายเวท
5. มากกว่า 108 ปอนด์ (49 กิโลกรัม) ไม่เกิน 112 ปอนด์ (50.8 กิโลกรัม)
- Flyweight : ฟลายเวท
6. มากกว่า 112 ปอนด์ (50.8 กิโลกรัม) ไม่เกิน 115 ปอนด์ (52.2 กิโลกรัม)
- Super flyweight : ซูเปอร์ฟลายเวท
- Junior bantamweight : จูเนียร์แบนตัมเวท
7. มากกว่า 115 ปอนด์ (52.2 กิโลกรัม) ไม่เกิน 118 ปอนด์ (53.5 กิโลกรัม)
- Bantamweight : แบนตัมเวท
8. มากกว่า 118 ปอนด์ (53.5 กิโลกรัม) ไม่เกิน 122 ปอนด์ (55.3 กิโลกรัม)
- Super bantamweight : ซูเปอร์แบนตัมเวท
- Junior featherweight : จูเนียร์ เฟเธอร์เวท
- Light Featherweight : ไลท์เฟเธอร์เวท
9. มากกว่า 122 ปอนด์ (55.3 กิโลกรัม) ไม่เกิน 126 ปอนด์ (57.2 กิโลกรัม)
- Featherweight : เฟเธอร์เวท
10. มากกว่า 126 ปอนด์ (57 กก.) ไม่เกิน 130 ปอนด์ (59.0 กิโลกรัม)
- Super featherweight : ซูเปอร์เฟเธอร์เวท
- Junior lightweight : จูเนียร์ ไลท์เวท
11. มากกว่า 130 ปอนด์ (59 กิโลกรัม) ไม่เกิน 135 ปอนด์ (61.2 กิโลกรัม)
- Lightweight : ไลท์เวท
12. มากกว่า 135 ปอนด์ (61.2 กิโลกรัม) ไม่เกิน 140 ปอนด์ (63.5 กิโลกรัม)
- Super lightweight : ซูเปอร์ไลท์เวท
- Junior welterweight : จูเนียร์ เวลเธอร์เวท
- Light welterweight : ไลท์ เวลเธอร์เวท
13. มากกว่า 140 ปอนด์ (63.5 กิโลกรัม) ไม่เกิน 147 ปอนด์ (66.7 กิโลกรัม)
- Welterweight : เวลเตอร์เวท
14. มากกว่า 147 ปอนด์ (66.7 กิโลกรัม) ไม่เกิน 154 ปอนด์ (69.9 กิโลกรัม)
- Super welterweight : ซูเปอร์เวลเตอร์เวท
- Junior middleweight : จูเนียร์ มิดเดิลเวท
- Light middleweight : ไลท์มิดเดิลเวท
15. มากกว่า 154 ปอนด์ (69.9 กิโลกรัม) ไม่เกิน 160 ปอนด์ (72.6 กิโลกรัม)
- Middleweight : มิดเดิลเวท
16. มากกว่า 160 ปอนด์ (72.6 กิโลกรัม) ไม่เกิน 168 ปอนด์ (76.2 กิโลกรัม)
- Super middleweight : ซูเปอร์มิดเดิลเวท
17. มากกว่า 168 ปอนด์ (76.2 กิโลกรัม) ไม่เกิน 175 ปอนด์ (79.4 กิโลกรัม)
- Light heavyweight : ไลท์เฮฟวีเวท
18. มากกว่า 175 ปอนด์ (79.4 กิโลกรัม) ไม่เกิน 200 ปอนด์ (90.72 กิโลกรัม)
- Junior heavyweight : จูเนียร์เฮฟวี่เวท
- Cruiserweight : ครุยเซอร์เวท
19. มากกว่า 200 ปอนด์ (90.72 กิโลกรัม) ไม่เกิน 224 ปอนด์ (102 กิโลกรัม)
* น้ำหนักได้รับการตั้งชื่อตามเด็กชายชาวอเมริกัน Bridger Walker วัย 6 ขวบที่ช่วยน้องสาววัย 4 ขวบ
ของเขาจากสุนัขจรจัดในเดือนกรกฎาคม 2020 ซึ่งมีอยู๋ใน WBC หรือสภามวยโลก
- Bridgerweight
20. น้ำหนัก มากกว่า 200 ปอนด์ (90.72 กิโลกรัม)
- Heavyweight : เฮฟวีเวท
21. น้ำหนัก มากกว่า 265 ปอนด์ (120 กิโลกรัม) ใน MMA
- Super heavyweight : ซูเปอร์เฮฟวีเวท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น